วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของต้นมะพร้าว



      เพื่อน ๆคงอยากรู้ ใช่ไหมว่า ต้นมะพร้าว มีส่วนประกอบ อะไรบ้าง อยากรู้ก็ ลองมาอ่านกันเลยครับ มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วย เปลือกนอก ถัดไปข้างในก็ จะเป็นใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ปหรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เราเรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น

คุณค่าของมะพร้าวในแง่พืชเศรษฐกิจ

   


     เพื่อน ๆ ครับ เนื่องในปัจจุปันมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ของประเทศ ไทย  เป็นผลผลิตที่จำหน่ายได้  ทำรายได้ให้เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวปีละหลายหมื่นบาท  นอกจากการส่งผลผลิตไปจำหน่ายนอกพื้นที่แล้ว   ยังมีการทำมะพร้าวขาวและมะพร้าวแห้งจำหน่ายในช่วงที่ราคามะพร้าวตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม  นอกจากนี้มะพร้าวอ่อนยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  ปัจจุบันมีการจำหน่ายมะพร้าวอ่อนทั้งในรูปผลสดและป้อนโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป ขณะนี้ตลาดมะพร้าวอ่อนมีการขยายตัวมากขึ้นโดยเฉพาะส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ตลาดรับซื้อที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น บรูไน ตะวันออกกลางและยุโรป ครับ

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ใบมะพร้าว

   ต่อ ไป นะครับจะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับใบมะพร้าวครับสำหรับ เพื่อน ๆที่ อยากศึกษาอย่างละเอียดก็เชิญ เข้ามาลองอ่านเพื่อ เป็น ความรู้  ได้น่ะครับ  ใบมะพร้าว มีสีเขียวขนาดกว้างประมาณ 2-5 .ยาว 50-100 ..และใบมะพร้าวเรียงติดกันเป็นแผงทั้งสองข้างทางมะพร้าว  ประมาณ 200-240ใบ ใบที่อยู่ส่วนโคนของทางและตอนปลายทางจะสั้นมากประมาณ 30 .ส่วนใบที่ติดอยู่ตรงกลางยาวมากถึง 100 .กว่าขึ้นไปทางมะพร้าวยาวประมาณ 5 – 6.5 เมตร ก้านทางยาวประมาณ1.2 – 1.65 เมตร ทางมะพร้าวที่อยู่บนยอดมะพร้าว ติดเรียงเวียนรอบต้นเหมือนกับเกลียวของตะปูควง ซึ่งมีทั้งเกลียวเวียนซ้ายและเวียนขวา แต่ละทางติดเวียนรอบต้นห่างกันเป็นมุม 137 – 140 องศาต้นมะพร้าวที่ออกผลจะมีทางบนต้น 30-35 ทาง จำนวนทางบนต้นมะพร้าวไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของต้น สิ่งแวดล้อมที่ปลูก ปุ๋ยที่ใช้และฤดูกาล ต้นมะพร้าวที่แข็งแรงปลูกในดินดินดี ปุ๋ยดี จะมีทางบนต้นมาก เฉลี่ยประมาณ 12 ทาง และสามารถอยู่บนต้นได้นาน  2.5 - 3 ปี  ส่วนมะพร้าวที่เริ่มปลูกยังไม่ออกผลทางจะมีอายุน้อยกว่านี้ และจำนวนทางที่ผลิตต่อปีก็น้อยกว่าครับ   

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ศัตรูมะพร้าว และ วิธีกำจัด

    วันนี้นะครับได้เข้าไปอ่าน บทความ บทความหนึ่งใน อินเตอร์เน็ตผมจึง ยกบทความ บทความหนึ่ง มาให้เพื่อน ๆได้ลองศึกษาน่ะครับ จะเห็นได้ว่า นะครับ ปัจจุบัน สิ่งที่เกษรตรชาวสวนมะพร้าวกังวล มากที่ สุด คือ ศัตรูมะพร้าวซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตมะพร้าวลดลงมี 4ชนิด คือ ด้วงแรดมะพร้าว  ด้วงงวงมะพร้าว หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม ซึ่งการป้องกันกำจัดไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี แต่ให้เลือกใช้วิธีเขตกรรมและศัตรูธรรมชาติของแมลงทั้ง 4ชนิดแทน ซึ่งวิธีการป้องกันกำจัดที่เหมาะสมมีดังนี้   



 1. ด้วงแรดมะพร้าว มักระบาดในสวนที่ปล่อยให้รกหรือมีกองเศษพืช กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ดังนั้นชาวสวนควรหมั่นทำความสะอาดแปลงอยู่เสมอ หากพบด้วงแรดให้จับไปทำลายทิ้ง หรือใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมควบคุม ทำได้โดยการคลุกเชื้อราในแหล่งที่พบการระบาดเพื่อทำลายตัวหนอนในดิน หรือทำกองล่อเพื่อให้ตัวเต็มวัยมาผสมพันธุ์และวางไข่ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ขุยมะพร้าว ขี้วัว แกลบ เศษหญ้า ในส่วนผสมเท่า ๆ กัน รดน้ำให้ชุ่มและคลุกเชื้อราเขียวเมตาไรเซียมลงในกองล่อ เมื่อเชื้อราสัมผัสตัวหนอนจะเจริญเติบโตในตัวหนอนจนตัวหนอนตายในที่สุด

2. ด้วงงวงมะพร้าว มักทำลายในส่วนของลำต้นและยอดบริเวณคอมะพร้าว โดยการเจาะเข้าไปจนเป็นโพรง วิธีการป้องกันกำจัด คือ การหมั่นทำความสะอาดแปลง ตรวจดูการเข้าทำลายและการระบาดอย่างสม่ำเสมอ หากพบตัวด้วงงวงหรือร่องรอยการทำลายให้หยอดสารคลอร์ไพรีฟอส 40% EC อัตรา 80 มิลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ตามรอยแผลหรือรูเจาะ

3. หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นศัตรูพืชที่พบระบาดมาก เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มระบาดจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ สาเหตุเกิดจากต้นมะพร้าวทรุดโทรมจากภาวะภัยแล้ง โดยตัวหนอนจะกัดแทะผิวใบแก่และสร้างเส้นใยถักพัน แล้วใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้นทำอุโมงค์หากระบาดอย่างรุนแรงจะทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลงมากกว่า 50 % วิธีการป้องกันกำจัด คือ การใช้เชื้อบีที อัตรา 80 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วตั้งต้นและใบ ต้นละ 5-10 ลิตร ติดต่อกัน 3-5 ครั้งห่างกัน 7-10 วัน ควบคู่กับการตัดใบมะพร้าวที่ถูกทำลายและนำไปฝังหรือเผาทำลายทิ้ง


4. แมลงดำหนามมะพร้าว จะเข้าทำลายในส่วนยอดอ่อนของมะพร้าวเป็นหลัก โดยใช้เวลาพียง 5 วันสามารถทำให้ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต เมื่อระบาดรุนแรงจะมองเห็นใบบนต้นมะพร้าวเป็นสีขาวโพลน หรือที่เรียกว่า โรคหัวหงอกŽ  การป้องกันกำจัดทำได้โดยการนำแตนเบียนหนอน หรือเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม กำจัดระยะตัวหนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย จับตัวหนอนหรือตัวแมลงดำหนามดำไปเผาทำลาย หรือตัดมะพร้าวที่ถูกทำลายจนตายและเผาทิ้ง นอกจากนี้พ่นด้วยสารเคมีคลอร์ไพรีฟอส อัตราการใช้ 35 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณยอดหรือใบอ่อนในช่วงต้นกล้า นี้คือ 4 แมลง สำคัญที่ เข้าทำลาย กัดกินมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น



 วันนี้นะครับ จะมาเล่าถึงเรื่องน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นมะพร้าวโดย มะพร้าวนั้นเป็นพืชสารพัดประโยชน์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน มะพร้าวนิยมนำมาทำเป็นอาหารต่างๆมากมายทั้งคาวหวาน และส่วนต่างๆของมะพร้าวยังมีคุณสมบัตินำมาทำเป็นยาอีกด้วย เราจะเห็นว่ามะพร้าวนั้นมีลำต้นที่สูงมากๆ ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นว่า กว่าน้ำที่ถูกดูดซึมผ่านรากจะเดินทางผ่านลำต้นซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องกรองไปจนถึงยอดนั้นมีระยะทางมากแค่ไหน ทำให้น้ำและเนื้อมะพร้าวมีความบริสุทธิ์มาก และทั้งหมดเป็นวิธีการที่สร้างสรรค์มาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง ด้วยภูมิปัญญาของคนไทยจึงได้นำความบริสุทธิ์ของมะพร้าวที่ธรรมชาติมอบให้นี้ มาผ่านกรรมวิธีสกัดเย็นเป็นน้ำมันมะพร้าวซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายประการ   ในน้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริคอยู่สูงประมาณ  48% – 53%   ซึ่งกรดลอริคนี้ เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีคุณสมบัติทางด้านสุขภาพและความงามที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง ถ้าเรานำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นมาทาผิวหน้า จะสามารถช่วยขจัดแบคทีเรียได้ ทำให้ลดการเกิดสิว ฝ้า และริ้วรอยบนใบหน้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นของผิวไว้ ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล เปล่งปลั่ง ดูมีสุขภาพดี น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นนั้นไม่ผ่านขบวนการ RBD จึงทำให้ยังมีวิตามินอีอยู่ เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นทาใบหน้าและผิวเป็นประจำ จะช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว ซ่อมแซมผิวในส่วนที่สึกหรอ ช่วยลบเลือนริ้วรอยที่เกิดจากสิวและจุดด่างดำต่างๆได้เป็นอย่างดีด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ความเชื่อ เรื่อง มะพร้าว

 เพื่อน ๆครับ เพื่อน ๆ รู้ ไหมว่า ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวงได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวบริเวณทิศตะวันออกของบ้านเพื่อให้เป็นสิริมงคล และ คนที่เกิดปีชวด ปีเถาะ นะครับ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ก็จัดให้มะพร้าวเป็นมิ่งขวัญของคนที่เกิดในปีดังกล่าวครับ  นอกจากนี้ การล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าว ก็เพราะ มีความเชื่อว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำบริสุทธิ์
อีกทั้งในพิธีกรรมทั้งทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จะจัดให้มีมะพร้าวอ่อนเป็นเครื่องสังเวย เพราะมีความเชื่อว่ามะพร้าวเป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์ และน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ เหมาะแก่การชำระล้างและการดื่มเพื่อเป็นสิริมงคล ด้วยครับ

มะพร้าวและกะทิในขนมไทย


 มะพร้าวและกะทิในขนมไทย
       สวัสดีครับ เพื่อน ๆ วันนี้นะครับ มีเรื่อง เกี่ยว กับมะพร้าว และ กะทิที่ใช้สำหรับทำขนม มาให้ เพื่อน ได้ เข้า มาลองอ่าน เพื่อ เป็นความรู้ครับ มะพร้าวนั้นคือส่วนผสมที่นิยมใช้ในขนมไทยมาก เรียกว่าเป็นส่วนผสมหลักอีกอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ เลย มะพร้าวที่ใช้จะมีทั้งมะพร้าวทึนทึก มะพร้าว อ่อน  มะพร้าวแก่ ขนมบางอย่างก็ยังใช้น้ำมะพร้าวเป็นส่วนผสมด้วยครับ   
 

มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว เปียก รวมมิตร สังขยา มะพร้าวอ่อน ฯลฯ
มะพร้าวทึนทึก จะใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้ในขนมหลายชนิดและยังคลุกกับข้าวต้มเป็นข้าวต้มหัวหงอก ใช้โรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมเปียกปูน ขนมดอกดิน ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเรไร ฯลฯ
มะพร้าวแก่ จะนำยมนำมาคั้นน้ำกะทิก่อนจะใส่ผสมในขนม โดยการขุดมะพร้าวให้เป็นฝอยแล้วจึงคั้นกับน้ำอุ่นให้ได้ในปริมาณที่ต้องการ จากนั้นจึงนำไปทำขนมได้ตั้งแต่ต้มกับส่วนผสม เช่น กล้วยบวชชี ฟักทองแกงบวด สังขยา ฯลฯ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น เปียกสาคู ซ่าหริ่ม บัวลอย เปียกข้าวโพด เปียกข้าวเหนียว ฯลฯ
 และการใช้กะทิในขนมนะครับ ทั้งกะทิสดที่ใช้ราด และกะทิที่ต้มกับเนื้อขนม ให้ใส่เกลือลงไปเล็กน้อยจะช่วยเสริมให้กะทิมีรสหวานและมันยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของมะพร้าว



ประโยชน์ของมะพร้าว



มะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น 

-ในผลมะพร้าวอ่อนจะมีน้ำอยู่ภายใน เรียกว่าน้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วย โพแทสเซียม นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก  ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้
-น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
-เนื้อในของมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
-กากที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
-ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า 'สลัดเจ้าสัว' (millionaire's salad)
-ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
-น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
-กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯฃ
-ก้านใบ หรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
-จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล
-จาวมะพร้าวใช้นำมาเป็นอาหารได้ ในจาวมะพร้าวมีฮอร์โมนอกซิน และฮอร์โมนอื่นๆแต่ มี ฮอร์โมนออกซินปริมาณมากที่สุด ซึ่งเมื่อนำไปคั้น และนำน้ำที่ได้จากจาวมะพร้าว ไปรดต้นพืช จะช่ยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้
-น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวใช้ถ่ายพยาธิได้
-เปลือกหุ้มรากมะพร้าวใช้รักษาโรคคอตีบได้
-น้ำมันจากกะลามะพร้าวใช้รักษาโรคผิวหนังได้





ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว




  
ต่อไปก็จะเป็นผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว มาลองอ่านดูน่ะครับว่ามีประวัติ ความเป็นมาอย่างไรและ สามารถทำผลิตภัณฑ์อะไรได้บ้าง
       
   กะลาเป็นของเหลือใช้ที่มีผู้เล็งเห็นประโยชน์จากแนวคิดดั้งเดิม นำมาปรับปรุงรูปแบบวิธีการ จากการประดิษฐ์เพียงไม่รู้กี่รูปแบบ ก็คิดค้นคว้าเพิ่มเติม จนกลายเป็นรูปแบบการผลิตเพื่อการขายอย่างจริงจัง การรวมกลุ่มกันผลิตในหมู่ผู้มีความชอบ มีความคิด และมีฝีมือ รวมถึงวัตถุดิบในชุมชน ต้นทุนไม่สูง ตลาดตอบรับทั้งภายใน และต่างประเทศ จึงทำให้การผลิตสินค้าจากกะลามะพร้าวแพร่หลายกว้างขวางอย่างรวดเร็ว ในอดีตกะลามะพร้าวถูกนำมาทำเครื่องใช้หลายชนิดที่ยังพอมีให้เห็นเป็นของเก่าอยู่บ้างคือ จอกตักน้ำ หรือกะโหลกตักน้ำ หรือ ทะนาน ที่ใช้สำหรับตักข้าวสาร และยังมีอีกหลายชนิดที่แล้วแต่จะเรียกชื่อกัน นับเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่มีวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ ใช้ของไทยที่ผลิตขึ้นเองจากวัสดุในท้องถิ่นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มเลือนหายเมื่อความเจริญทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาแทนที่จึงหันไปใช้พวกโลหะหรือพลาสติกแทน

                                                                                                                                                                                             

    เริ่มแรกเราไปตระเวนหามะพร้าวที่เขาทิ้งพวกมะพร้าวที่เพาะไม่ขึ้น มะพร้าวหล่น มะพร้าวที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ขอเขามา เลือกมะพร้าวตามขนาดที่ต้องการ แล้วปอกเปลือกเพื่อคัดแยกขนาดว่าลูกไหนจะไปทำอะไร ทำนก ทำกา ทำแก้วกาแฟ คัดเสร็จนำมาเลื่อยหรือผ่าเอาเนื้อในออกซึ่งเอาออกยากมากและการแคะเนื้อออกต้องใช้ความชำนาญพิเศษ  เสร็จแล้วเอามาเจียด้วยกระดาษทรายหยาบและกระดาษทรายละเอียดจนถึงสำเร็จรูป แล้วมาตก แต่งขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์บางตัว   เช่น ทัพพี ตะหลิว มีไม้ตาลเป็นส่วนประกอบก็หาได้ในพื้นที่ ส่วนเครื่องมือในการทำมี มอเตอร์ สว่าน เลื่อย ซึ่งเครื่องมือบางอย่างต้องมาดัดแปลงแก้ไขเพราะกะลาเป็นวัตถุดิบที่มีความกลมไม่เหมือนไม้ เครื่องมือส่วนใหญ่ที่เขาทำขึ้นเหมาะกับการทำไม้ ฉะนั้นเราจึงต้องนำมาดัดแปลงเพื่อให้ใช้งานได้ซึ่งลงทุนไม่มาก   
 
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกะลามะพร้าวประมาณ 20 ชนิด              

    เครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือ สร้อยคอ แหวน ต่างหู กิ๊บ ปิ่นปักผม พวงกุญแจ หวี  เครื่องใช้ เช่น ทัพพี ตะหลิว ช้อน แก้วกาแฟอื่น ๆ ที่เป็นของโบราณ  เครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟ ที่วางสบู่ ที่ใส่ทิซชู ตลาดของผลิตภัณฑ์  ที่ขายมีหน่วยงานช่วยขาย เช่น พัฒนาชุมชน สหกรณ์ พาณิชย์   เป็นตลาดงานฝีมือ งานโอทอป งานแปรรูป เป็นต้น

ประวัติและการปลูกมะพร้าว


วันนี้มีเรื่อง เกี่ยวกับมะพร้าวมาแนะนำ ซึ่ง พอดี ได้ ไปอ่านเจอ ซึ่งมีึความน่าสนใจ เพื่อนๆ ที่ต้องการหาความรู้ ก็เข้ามาอ่านได้น่ะ ครับ วันนี้ขอยกตัวอย่างบทความ มาแนะนำ
มะพร้าว     เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล
ดินที่เหมาะกับการปลูกมะพร้าวมี 6 ชนิดคือ
1. ดินใกล้ฝั่งแม่น้ำ2. ดินใกล้ปากน้ำติดทะเลเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน3. ดินตามเกาะต่างๆ4. ดินชายทะเลซึ่งส่วนมากหน้าดินเป็นดินทราย5. ดินเลนที่ขุดลอกจากสันดอน6. ดินบนคันนา
ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง ภาคกลาง ได้แก่ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี ราชบุรี ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา


พื้นที่ปลูก
ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง ภาคกลาง ได้แก่ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี ราชบุรี ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา
วิธีการปลูก

ควรปลูกในฤดูฝน ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ให้เป็นหลุมเล็กๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันราทาตรงรอยตัดวางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง ตัดหน่อไปในทิศทางเดียวกัน เอาดินกลบอย่างน้อย 2/3 ของผล เพื่อให้พอดีมิดผลมะพร้าว แต่ระวังอย่าให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้า แต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นก็ควรจะกลบดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยก เหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยง ให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย ปลูกมะพร้าวให้ต้นตั้งตรง มัดหลักยึดต้นกันลมโยก ทำร่มบังแดดให้ในระยะแรกหลังปลูก